วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งูเห่า (Naja kaouthia)


                            

งูเห่า (Naja kaouthia)

งูเห่าพบมากในภาคกลาง บริเวณกรุงเทพ สมุทรปราการ อยุธยา อ่างทอง ลพบุรี เป็นงูที่มีพิษมาก รุนแรงถึงชีวิต มีความยาวประมาณตั้งแต่ 1-2.24เมตร และมีอยู่ชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย เมื่อตกใจจะเผ่นหนี และพ่นลมออกมาดังฟู่ฟู่ คล้ายเสียงขู่จึงเรียกว่า งูเห่า กินหนู กบ เขียด นก ลูกเป็ด ลูกไก่ เป็นอาหาร

พิษเฉพาะที่ [local poisoning]
  • มีอาการเสียวแปลบเกิดขึ้นทันทีตรงบริเวณที่ถูกงูเห่ากัด ต่อมาจะปวดเล็กน้อย อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น มักจะมีรอยเขี้ยวพิษ 2 จุด มีเลือดออกซิบๆ ถ้ารอยเขี้ยวห่างกันมากแสดงว่างูที่กัดมีขนาดใหญ่
  • หลังจากนั้น 30 นาทีบริเวณรอยเขี้ยวจะบวมเล็กน้อย และบวมมากขึ้นช้าๆเฉพาะรอบๆแผลเท่านั้น

พิษโดยทั่วไป [Systemic poisoning ]
  • หลังจากงูกัด 30นาที-5 ชั่วโมงเริ่มเกิดอาการแรกคือ เวียนหัว แขนขาไม่มีแรง และง่วงนอนลืมตาไม่ขึ้น
  • ลืมตาไม่ขึ้นซึ่งตอนแรกอาจจะเกิดขึ้นทีละข้างก่อน ข้อนี้ถือเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัย ถ้าเจอผู้ป่วยระยะนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
  • ตามองไม่ชัด
  • ต่อมาอาการจะเพิ่มมากขึ้น แขนขาหมดแรง ตาหรี่มากขึ้น กระวนกระวาย ลิ้นแข็ง พูดอ้อแอ้น้ำลายมากเพราะกลืนลำบาก
  • เริ่มมีอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนอาหาร อ้าปากไม่ขึ้น
  • หายใจอึดอัด กระสับกระส่ายเพราะมีอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ
  • coma หยุดหายใจ และตาย
ตั้งแต่ถูกงูกัดจนกระทั่งหยุดหายใจอาจกินเวลาประมาณ 8-24 ชั่วโมงขึ้นกับปริมาณของพิษงูที่ได้รับ ถ้าได้รับพิษมากอาจเกิดอาการใน 1 ชั่วโมง หลังจากถูกงูกัด 1ชั่วโมงถ้ายังไม่เกิดอาการบวม และเมื่อถึง 2 ชั่วโมงก็ยังไม่มีอาการแต่อย่างใดย่อมแสดงว่าไม่มีพิษทั่วไป
การรักษา
  • การรักษาแผล ไม่จำเป็นต้องกรีดแผลหรือกว้านแผล ถ้าตุ่มใสขนาดเล็กไม่ต้องเจาะแต่ถ้าเป็นตุ่มขนาดใหญ่ให้เจาะดูดออกโดยใช้เข็มโดยวิธีปลอดเชื้อ ไม่ให้ถูกฐานของแผล ถ้าแผลสกปรกควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
  •   การให้ยาปฏิชีวนะควรให้ทุกรายเนื่องจากมีเชื้อในปากงู ยาที่ควรให้ได้แก่ pen v 250 mg วันละ 4-8 เม็ด
  • การให้ serum แก้พิษงูควรให้ในรายที่มีอาการดังต่อไปนี้   เช่น พูดอ้อแอ้ พูดไม่ชัด ลิ้นคับปาก กลืนไม่ค่อยลง หายใจขัด  หายใจไม่ออก หยุดหายใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น