งูสามเหลี่ยม งูทับหางเหลือง (ภาคอีสาน)
Banded Krait
Bungarus fasciatus, Schneider
เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลงูสามเหลี่ยมด้วยกัน สันหลังเป็นสันถึงแม้จะอ้วนก็มีสันหลัง จึงเรียกว่างูสามเหลี่ยม โตเต็มที่ยาวประมาณ 1,357 ม.ม. (หัว 35 ม.ม.ตัว 1,120 ม.ม.หาง 202 ม.ม.) หางปุ้นกุดทุกตัวซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของงูสามเหลี่ยม ออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันจึงซึมเซา ชอบเลื้อยออกหากินตามที่ชื้นแฉะ ตามร่องนํ้า ลำคลอง อาหารที่ชอบคืองูนํ้าชนิดต่าง ๆ และงูขนาดเล็กอื่น ๆ เช่น งูสายรุ้ง (Enhydris) งูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus) เป็นต้น มักอาศัยพักนอนในโพรงดินใต้กอหญ้าทึบ ใต้โพรงโคนไม้ใหญ่และกอไผ่ที่มีความเย็นชื้น นิสัยไม่ดุจะกัดต่อเมื่อโดนเหยียบหรือมันเข้าใจว่าเป็นสัตว์อาหารเท่านั้น งูสามเหลี่ยมมีสีปล้องดำสลับเหลืองสวยงาม หัวดำ ท้องขาว พบทุกภาคของไทย นอกจากนี้ยังพบในอินเดีย พม่า อินโดจีน มาเลเซีย ชวา สุมาตรา
การรักษาทั่วไป
- รักษาภาวะฉุกเฉิน เช่น ภาวะช็อค anaphylactic shock การหยุดหายใจ
- ปลอบใจและให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย
- หยุดการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด ในกรณีที่มีอาการบวมมาก ให้ยกบริเวณนั้นสูง
- ให้สารน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการบวมมาก
- ให้ยาแก้ปวด แอเคตามิโนเฟน ไม่ให้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางแก่ผู้ที่ถูกงูพิษต่อระบบประสาทกัด และไม่ให้ แอสไพรินในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษต่อระบบเลือดกัด
- ให้ยาต้านจุลชีพในกรณีถูกงูเห่าและงูจงอางกัด ใช้ยาที่ครอบคลุมเชื้อทั้งแกรมบวก แกรมลบเละเชื้อไม่พึ่งอากาศ
- ควรให้ยากันบาดทะยัก ในกรณีงูพิษต่อระบบเลือดควรให้หลังจากอาการเลือดออกผิดปรกติดีขึ้นแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น