งูจงอาง (Ophiophagus hannah)
เป็นงูที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ที่เคยพบยาวเกือบ 6 เมตร ลักษณะคล้ายงูเห่า แต่โตกว่ามาก เป็นงูพิษที่มีนิสัยค่อนข้างดุ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางเป็นงูที่กินงูด้วยกัน และสัตว์จำพวกตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแก เป็นอาหาร
วิธีแก้พิษงูจงอาง
1. ใช้เชือกรัดที่เหนือแผลประมาณ 5-15 ซม. (อย่ารัดแน่นจนเกินไป) ให้พอสอดนิ้วเข้าไปได้ ทั้งนี้เพราะการรัดมีจุดประสงค์
เพื่อกันไม่ให้พิษงูที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ท่อน้ำเหลือง และเส้นเลือดดำไหลเข้าหัวใจ จึงไม่ต้องรัดให้แน่นจนเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่ได้
เหมือนกรณีรัดห้ามเลือด และถ้ามีอาการเจ็บจนทนไม่ไหวให้รัดจุดใหม่ที่ตำแหน่งเหนือขึ้นไปอีกเล็กน้อย แล้วจึงคลายเชือกรัดที่จุดแรกออก
2. ให้ผู้ป่วยอยู่นิ่ง ๆ จัดท่าให่ส่วนที่อยู่งูกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ อย่าเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่จำเป็น ห้ามดื่มเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
กาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มชูกำลัง
3. ทำความสะอาดบาดแผลที่ถูกงูกัดด้วยน้ำสะอาด หรือแอลกอฮอล์และทิงเจอร์
4. โดยทั่วไปหลังจากใช้เชือกรัดแล้วให้รีบนำส่งแพทย์ และงูที่กัดเป็นงูพิษร้าย อาจกรีดแผลโดยใช้มือสะอาดกรีดแผลตรง
รอยเขี้ยวให้ลึกแค่ผ่านผิวหนัง (ลึกประมาณ 0.5 ซม. ยาวไม่เกิน 1 ซม.) แล้วใช้ลูกยางหรือเครื่องดูดดูดตรงรอยกรีด แต่ถ้าไม่มีเครื่องมือ
อาจใช้ ปากดูดแล้วบ้วนทิ้ง แต่ผู้ดูดต้องไม่มีแผลในปาก (วิธีกรีดแผลดูดพิษนี้จะทำเมือ่จำเป็นมากกว่า เพราะอาจจะก่อให้เกิด
แผลติดเชื้อได้มากขึ้น ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าผลดี)
5. รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที
พิษต่อระบบประสาท
- การช่วยการหายใจเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา ซึ่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการให้เซรุ่มแก้พิษ ต้องเฝ้าสังเกตอกการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างใกล้ชิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และเตรียมพร้อมสำหรับการใส่ท่อหลอดลมคอ และใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่เริ่มอกการกลืนลำบากต้องรีบใส่ท่อหลอดลมคอ เพื่อป้องกันการสำลักเข้าปอด ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อการหายใจอ่อนแรง (peak flow < 200 ลิตร / นาที, ความจุไวตัล < 1.5 ลิตร ,respiratory paradox, respiratory alternans, หยุดหายใจ) ต้องได้รับการช่วยหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ ในกรณีไม่มีเครื่องช่วยหายใจ ให้ใช้ถุงแอมบู ช่วยแล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลที่มีเครื่องช่วยหายใจ
- ข้อบ่งชี้ในการให้เซรุ่ม คือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มตั้งแต่มีหนังตาตก ไม่ต้องรอให้มีการหายใจล้มเหลวการให้เซรุ่มช่วยลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ จากเวลาเฉลี่ยประมาณ 44 ชั่วโมง มาเป็นประมาณ 6 ชั่วโมง เนื่องจากเซรุ่มไม่สามารถไปแก้พิษงูที่อยู่ใน motor end-plate ได้ ดังนั้นวิธีที่ดี คือ การให้เซรุ่มขนาดสูงเป็น bolus dose เพื่อแก้พิษงูในกระแสเลือดทั้งหมด ส่วนพิษงูที่จับกับ motor end-plate แล้ว ให้ร่างกายกำจัดเอง โดยแพทย์ทำการช่วยหายใจในช่วงเวลานั้น ปริมาณเซรุ่มที่เหมาะสำหรับพิษจากงูเห่าคือ 100 มล. แต่สำหรับงูจงอางและงูสามเหลี่ยมยังไม่มีข้อมูลที่มากพอ ในปัจจุบันไม่มีเซรุ่ม สำหรับงูทับสมิงคลา ซึ่งเป็นงูพิษที่ดุร้าย มีอัตราตายของผู้ถูกกัดสูง และเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนในภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการทำลองในสัตว์พบว่าสามารถให้เซรุ่มของงูสามเหลี่ยมได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในคนสนับสนุน อย่างไรก็ตามการรักษาที่สำคัญ คือการช่วยหายใจ
- ในกรณีงูเห่าและงูจงอาง ให้รีบตัดเนื้อตายจากบริเวณแผลที่ถูกกัดก่อนที่จะลุกลามเป็นบริเวณกว้าง และพิจารณาทำการถ่ายปลูกผิวหนัง ถ้าจำเป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น